Roi Et/Palanchai Lake/District Projects
TH | EN

ISAN Rice Flavors: ชิมข้าวอีสาน

ยกระดับ 'ข้าว' อีสาน ที่ไม่ได้มีดีแค่กลิ่นหอม

ISAN Rice Flavors: ชิมข้าวอีสาน
Published Date:

ISAN Rice Flavors | ชิมข้าวอีสาน

กิจกรรม ชิมข้าวอีสาน (ISAN Rice Flavors) ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาความหลากหลายของข้าว อีสาน (Isan rice sommelier project) เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เกิดขึ้นในย่านบึงพลาญชัย จังหวัดร้อยเอ็ด โดยนำเอาผลผลิตทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอย่าง “ข้าว” โดยเฉ​พาะข้าวหอมมะลิ มาทดลองชิมและวัดคุณภาพด้วยมาตรฐานใหม่ที่อ้างอิงจากการชิมไวน์และกาแฟ โดยบรรทัดฐานในการชี้วัดราคาและมูลค่าทางเศรษฐกิจของข้าวแบบดั้งเดิม อย่างการวัดการแตกหักในเมล็ดและความชื้น จะถูกแทนที่ด้วยการวัดคุณภาพจากลักษณะทางกายภาพ รสชาติ (flavour) รสสัมผัส (texture) และ กลิ่น (Aroma) ซึ่งข้าวแต่ละสายพันธุ์นั้นมีความแตกต่างกัน แปรผันตามลักษณะทางพันธุกรรม ภูมิอากาศ ภูมิประเทศของบริดวณแหล่งเพาะปลูกด้วย

ความแตกต่างหลากหลายของข้าวในอุตสาหกรรมอาหารปัจจุบันอาจยังไม่เห็นชัดนักเนื่องจากข้อจำกัด ในหลายปัจจัย สศส.ขอนแก่น จึงได้ร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ และนักสร้างสรรค์ในจังหวัดร้อยเอ็ด จัดกิจกรรมในครั้งนี้ขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้ และสร้างองค์ความรู้ในการทำความรู้จักกับข้าวให้ สร้างสรรค์มากขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร วัตถุดิบ สู่การเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต ตามโมเดลเศรษฐกิจแบบ BCG (Bio circular green economy) อีกด้วย

กิจกรรมจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 ที่หอประชุมอินทนิล วิทยาลัยอาชีวะ จังหวัดร้อยเอ็ด

พันธุ์ข้าวที่ใช้ในกิจกรรม
ทั้งหมด 21 สายพันธุ์ แบ่งเป็นข้าวเจ้า 11 สายพันธุ์ และข้าวเหนียว 10 สายพันธุ์

พันธุ์ข้าวเจ้า ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ 105, กข 15, กข 33, กข 83, มะลินิลสุรินทร์, ไรซ์เบอร์รี่, กข 79, กข 41, กข 43, ผกาอาปึล และบือโปะโละ

พันธุ์ข้าวเหนียว ได้แก่ กข6,กข10,กข18,กข22,สันป่าตอง1,เหนียวอุบล2,ข้าวเหนียวแดง, หางยี 71, ข้าวเหนียวลืมผัว และ เขี้ยวงู 8974

รูปแบบกิจกรรม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การเรียนรู้ การชิม การจับคู่

1. การจัดแสดงแผนที่ให้ความรู้ (Rice Exhibition) 

ข้าวทั้งหมด 21 สายพันธุ์ที่ใช้ในกิจกรรมนั้นล้วนเป็น ข้าวที่เกษตรกรชาวร้อยเอ็ดเป็นผู้เพาะปลูกทั้งสิ้น ซึ่งข้าวทุกสายพันธุ์จะถูกนำมาจัดแสดงเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะทางพันธุกรรมและภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อลักษณะทางกายภาพ

2. การชิมข้าว 21 สายพันธุ์ (Rice Cupping)

หลังจากได้รู้จักลักษณะทางกายภาพแล้วการชิมข้าวแต่ละสายพันธุ์เพื่อบันทึกความแตกต่างของ รสชาติ รสสัมผัส และกลิ่นของข้าว ผ่าน 5 วิธี ได้แก่ ดู ดม เคี้ยว อม กลืน ยังสามารถทำให้ ผู้บริโภคมีทางเลือกในการบริโภคข้าวอย่างหลากหลายได้มากขึ้น

3. การจับคู่เมนูอาหาร (Rice Pairing)

เมื่อได้รู้จักกับข้าวทั้งหมด 21 สายพันธ์ุแล้ว สิ่งสำคัญคือ การลองจับคู่กับอาหารประเภทต่างๆ เนื่องจากข้าวแต่ละตัวนั้นมีเอกลักษณ์


ISAN Rice Flavours ชิมข้าวอีสาน  โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับหอการค้าร้อยเอ็ด ศูนย์วิจัยข้าวร้อยเอ็ด และเกษตรกร